โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 , 19:21:12 (อ่าน 1,529 ครั้ง)
ม.อุบลฯ โชว์ ผลงานวิจัยพัฒนา “แพลตฟอร์มEMS Help Me”
แอปพลิเคชั่นไลน์ส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดนแบบเรียลไทม์
-------------------------------------
ผลงานวิจัยจากโครงการวิจัย “ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทย ลาวและกัมพูชา” ได้รับงบประมาณจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยนำเสนอ “แพลตฟอร์ม EMS HELP ME” ให้บริการช่วยเหลือชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ ชายแดนประเทศไทย ลาว กัมพูชา
“แพลตฟอร์มEMS Help Me” เป็นแอปพลิเคชั่นไลน์ทำงานได้แบบเรียลไทม์ เป็นการจัดการระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดน เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวก ทั้งผู้ให้บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล ตลอดจนประชาชนคนไทยและต่างชาติที่เดินทางข้ามแดน หากเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องส่งต่อมายังประเทศไทยได้ทันท่วงที ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือ ช่องเม็กจังหวัดอุบลราชธานี ช่องสะงำจังหวัดศรีสะเกษ และช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ โดยมี แพทย์ บุคคลกร สาธารณสุข เข้าร่วมพัฒนาและทดสอบระบบ และสามารถเปลี่ยนภาษาได้ 4 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษากัมพูชา และภาษาลาว
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย คณะผู้วิจัยคณะบริหารศาสตร์ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา “แพลตฟอร์มEMS Help Me” ซึ่งเป็นผลงานที่พัฒนามาจากผลงานวิจัย เรื่อง “ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทย ลาว และกัมพูชา” และได้รับการสนับสนุนงบประมาณและทุนวิจัยจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อการยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ด้วยการใช้ผลงานวิจัยองค์ความรู้ และนวัตกรรม โครงการวิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ได้สร้างแพลดฟอร์ม (ไลน์) การจัดการระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดน เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวก ทั้งผู้ให้บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล ตลอดจนประชาชนคนไทยและต่างชาติที่เดินทางข้ามแดน หากเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องส่งต่อมายังประเทศไทยสามารถติดต่อผ่านแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า EMS Help me ได้ทันท่วงที
ดร.อรุณรัตน์ เศวตธรรม คณะผู้วิจัยคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบสรานี พร้อมคณะ กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการระบส่งต่อผู้ป่วยในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และ จังหวัดสุรินทร์ โดยการทบทวนวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการส่งต่อผู้ป่วย และพัฒนาแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรมาการแพลตฟอร์มเพื่อการจัดการรระบต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ โดยมีวิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการสังเกต แบบสอบถาม และแบบบันทึกการทดลอง ได้ผลวิเคราะห์แล้วนำมาพัฒนาแพลดฟอร์มดิจิทัลในรูปแบบ ไลน์ (Line) รวมถึงการพัฒนาแผนการสื่อสารการตลาดแบบบบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้แพลตฟอร์ม จัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการแพลตฟอร์ม
โดยมีผลการวิจัย ผลการทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์ คณะวิจัยจึงได้เสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพข้ามแดนและการให้บริการทางการแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคติดติดต่อมีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยในการจัดการกับปัญหา การพัฒนาระบบสื่อสารและการรายงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการแจ้งเตือนฉุกเฉินสามารถติดตามผู้ป่วยและสถานการณ์โรคติดต่อได้ในทันที การสร้างข้อตกลงร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินและการรักษาผู้ป่วยข้ามแดน การส่งเสริมการเข้าถึงและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงบริการทางการแพทย์โนโรงพยาบาลการคัดกรองโรคติดต่อและระบบการรายงาน ให้ความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมใน การให้บริการสุขภาพ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมและความยุติธรรรมในการรักษาการจัดการข้อมูลและการปฏิบัติการนอกระบบพัฒนากลไกในการจัดการข้อมูลและการปฏิบัติการที่ไม่เข้าระบบ โดยใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ผลการพัฒนาแพลตฟอร์ม EMS Help Me เพื่อเกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม งานวิจัยจึงสร้างแพลตฟอร์มผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ทำงานได้แบบเรียลไทม์ และสามารถเปลี่ยนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษากัมพูชา และภาษาษาลาว ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ช่องเม็กจังหวัดอุบลราชธานี ช่องสะจำจังหวัดศรีสะเกษ และช่องจอมจังหวัดสุรินทร์ โดยมี แพทย์ บุคคลกร สาธารณสุข เข้าร่วมพัฒนาและทดสอบระบบ
ผลการประชาสัมพันธ์ คณะผู้วิจัยดำเนินการผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลและวิธีการใช้งาน และจากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์ม EMS Help Me กลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญมากที่สุด คือจากการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการให้รายละเอียดของแพลตฟอร์มแบบต่อตัวของผู้ให้บริการสารสารณสุข เช่น แพทย์ พยาบาล มีความมีอิทธิพลทางความคิด มีความสำคัญต่อการตัดสินใจใช้บริการแพลตฟอร์มเพื่อการจัดการระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ
โครงการวิจัยเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทย ลาว และกัมพูชาเป็นความร่วมมือของคณะผู้วิจัยที่บูรณาการร่วมกันนำทีมโดย ดร.อรุณรัตน์ เศวตธรรม ดร.สรินทิพย์ ทวีเดช ผศ.ใจแก้ว แถมเงิน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบสรานี ดร.ปณิตา ครองยุทธ วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และนางหรรษา ชื่นชูผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหน่วยงานสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับโครงการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยระบบสารธารณสุข (สวรส.) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ช่องเม็ก ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ช่องสะงำ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ช่องจอม ตรวจดนเข้าเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดศรีสะเกษ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสุรินทร์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และโรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
------------------------------------------------
ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ