สถานที่เคารพของชาวมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ศาลพระพรหม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นที่ประดิษฐานองค์ท้าวพระพรหมอันเป็นที่เคารพสักการะของนักศึกษา บุคลากรและชุมชน โดยรอบมหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้งเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี
หอประชุมขนาดใหญ่ใช้เป็นสถานที่รับพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พื้นที่ชุมชนบ้านศรีไคที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับการอนุมัติให้เป็นสถานที่ตั้ง คือ บริเวณพื้นที่ที่มีหนองน้ำสำคัญคือ หนองอีเจม ซี่งเป็นแหล่งน้ำของชุมชน เป็นพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรรม และยังเป็นแหล่งที่มีพืชพันธุ์ท้องถิ่นที่เป็นสมุนไพรและอาหารในการด้ารงชีวิต ปัจจุบันยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอีกด้วย ที่มาของชื่อหนองอีเจมนั้น คำว่า “เจม” เป็นคำพื้นถิ่นภาษาส่วย/กูย แปลว่า นก ซี่งสะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ที่มีนกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากอิทธิพลทางภาษานั้นทำให้เชื่อมโยงไปยังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ว่า บริเวณชุมชนบ้านศรีไคเป็นชุมชนที่ขยายตัวมาจากชุมชนบ้านคูเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนและชุมชนมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ จนล่วงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ตั้งแต่ทวารวดี ขอม สุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ซี่งผสมผสานระหว่างผู้คนหลากหลายวัฒนธรรม หนึ่งในนั้นคือชาวส่วยหรือกูย ซี่งมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธมประเทศกัมพูชา ต่อมาอพยพขึ้นเหนือเข้าสู่เมืองอัตตะบือแสนแป จำปาศักดิ์และสาละวัน ทางตอนใต้ของประเทศลาวและอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสานทางอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยอพยพเข้ามาในประเทศไทยครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ. 2326) เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในดินแดนแถบอีสานใต้จนกระทั่งมีชุมชนกูย (ส่วย) ขึ้นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย
อ้างอิงข้อมูล เพจสื่อสารองค์กร : https://www.facebook.com/UBUOC/posts/633559751372945
พื้นที่พักผ่อนและลานกิจกรรมสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย