ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ม.อุบลฯ ยกระดับงานวิจัยส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 Thailand Research Expo 2023


โพสโดย เพลิน วิชัยวงศ์     โพสวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ,     (อ่าน 233 ครั้ง)  


.         มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำผลงานกลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เข้าร่วมแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566" (Thailand Research Expo 2023)หัวข้อ “วิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”  โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นเวทีระดับชาติที่นำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566  ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

         รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต  ถิ่นวงศ์พิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการหัวหน้าโครงการวิจัยฯ  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินโครงการวิจัย ในกลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้เกิดการออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม จากการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาการทำเทียนจังหวัดอุบลราชธานี มาประยุกต์ใช้จำนวน 20 ต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า ผลิตภัณฑ์เทียนสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์เทียนกินได้ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากภูมิปัญญาการทำเทียน และการรำ 4 แสง เป็นต้น โดยบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชนย่านเมืองเก่า 5 ชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี

         สำหรับผลงานวิจัยที่ร่วมนำเสนอในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566" (Thailand Research Expo 2023) ประกอบด้วย

          ผลงานที่ 1 การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียนจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างมูลค่าใหม่บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า รองศาสตราจารย์ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ หัวหน้าโครงการ

          ผลงานที่ 2 การยกระดับคุณค่าและมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวภัทร ศรีจองแสง หัวหน้าโครงการ

          ผลงานที่ 3 การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเชื่อมโยงลาวใต้ อาจารย์เขมจิรา หนองเป็ด หัวหน้าโครงการ

          นับว่าเป็นการยกระดับ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม สำหรับทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาการทำเทียนของจังหวัดอุบลราชธานี สร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างมูลค่าใหม่บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านเมืองเก่า สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม ตอบโจทย์การเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม “วิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”

                                                                          งานประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ / ข่าว



Search
ลิ้งค์ข่าวสาร