มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English      




นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ห่วงใยนักศึกษาและบุคลากร แนะนำการเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ สำหรับโคโรนาไวรัส (COVID-19)


โพสต์โดย : เทอดภูมิ ทองอินทร์     วันที่ 9 เมษายน 2564 , 12:10:05     (อ่าน 1,092 ครั้ง)  



การเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับโคโรนาไวรัส (COVID-19)

การเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำน้ำยาฆ่าเชื้อว่าจะนำไปใช้กับอะไร ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ:

1. สารระงับเชื้อ (Antiseptics) เป็นสารที่มีฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรค มักใช้ สำหรับภายนอกร่างการเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จะเน้นการนำไปใช้เพื่อหยุดหรือยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ บนพื้นผิวภายนอกร่างกายเพื่อป้องกันเชื้อโรค สารระงับเชื้อที่นิยมใช้มากคือ Ethanol (Ethyl alcohol) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า แอลกอฮอล (Alcohol) ความแรงหรือความเข้มข้นของแอลกอฮอลที่มีประสิทธิภาพในการระงับเชื้อได้ดีคือ 70% v/v

แอลกอฮอลที่ผลิตออกมาใช้หรือ จำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่หลายรูปแบบ สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ และความสะดวกในการใช้ เช่น

         - Alcohol solution 70% v/v สำหรับเช็ดตามผิวหนัง

         - Alcohol Gel 70% v/v สำหรับมือ

         - Alcohol Solution 70% v/v Spray สำหรับใช้ฉีดพ่น

สาระงับเชื้อประเภทนี้ที่มีใช้ แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก เช่นChlorhexidine solution 1% และ 4% Chlorhexidine Liquid Soap 4%, Chloroxylenol 1:4, Iodophore solution 10% เป็นต้น

2. สารฆ่าเชื้อ (Disinfectants) เป็นสารที่ใช้ทำลายหรือป้องกันการเจริญเติบโตของจุลชีพ ก่อโรค จะเน้นการนำไปใช้ทำลายหรือป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อบนพื้นผิวของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น พื้นผิวของโต๊ะที่ใช้สำหรับปฏิบัติการ สารในประเภทนี้มักจะมีกลิ่นแรง และอาจท้าให้เกิดการระคาย เคืองต่อระบบหายใจ ดวงตา และผิวหนัง สารที่นิยมใช้มาก ได้แก่

        - Hypochlorite มีทั้งชนิดที่เป็นน้ำ (Sodium hypochlorite solution) 5.25% - 6.15%  

        - Hydrogen Peroxide 3.0% - 7.5%

        - Phenolics

        - Quaternary Ammonium Compounds

        - Formaldehyde

 สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้สารระงับเชื้อหรือสารฆ่าเชื้อ

           1. ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ (Effectiveness)

           2. เวลาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ (Kill Time) โดยเฉพาะ Disinfectant เวลาที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 30 วินาที ถึง 5 นาที และยังอยู่ในสภาพเปียก

           3. ความปลอดภัย (Safety)

           4. ความสะดวกในการน้าไปใช้ (Ease for use)

 

                                                                   ศาสตราจารย์พิเศษจอมจิน  จันทรสกุล

                                                                     นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี



ไฟล์แนบ : ไฟล์ 1


SDG Hashtag :

Tag อื่นๆ :